
เพื่อนซี้ของผิวที่ผู้หญิงหลายคนไม่คุ้นเคย การเลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับผิวไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ว่าเราควรจะรู้จักให้มากขึ้นอีกสักหน่อยดีกว่านะ
สองทางเลือกกับครีมกันแดด
ครีมกันแดดทั่วไปที่เราใช้ คือครีมกันแดดที่ทำหน้าที่ดูดซับเอารังอุลตร้าไวโอเลตไว้ (แต่ไม่ทั้งหมด) เราเรียกว่า "Chemical Sunscreen"
แต่มีครีมกันแดดอีกประเภทหนึ่งที่ดูจะมาแรงแซงโค้งกว่านั่นคือ "Physical Sunscreen" เพระไม่ดูดซึม แต่จะสกัดกั้น (block) รังสีอุลตร้าไวโอเลตไม่ให้ลงสู่ผิวของเรา คล้ายหลักการสะท้อนกลับนั่นแหละ ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจะเรียกครีมกันแดดชนิดนี้ว่า "Non-Chemical" ซึ่งส่วนผสมหลักก็คือ ไททาเนียม ไดออกไซด์ (Titanium dioxide) และ ซิงค์ ไดออกไซด์ (Zinc dioxide) ที่มีอานุภาพในการสะท้อนกลับอย่างสูง...แต่ข้อเสียของมันก็คือ ค่อนข้างมันเยิ้มและเป็นคราบเมื่อถูกน้ำ หรือมีเหงื่อออกมากๆ
Water-resistant กับ Waterproof?
Water-resistant ครีมกันแดด-กันน้ำที่สามารถปกป้องผิวตามค่า SPF ของมันได้นาน 40 นาที ขณะอยู่ในน้ำ
Waterproof ครีมกันแดด-กันน้ำที่สามารถปกป้องผิวตามค่า SPF ของมันได้นาน 80 นาที ขณะอยู่ในน้ำ
"SPF" คุ้นๆนะ...แต่...คืออะไร
SPF หรือ Sun Protection Factor คือค่าของครีมกันแดดที่จะบอกเราถึงระยะเวลาที่สามารถปกป้องผิวเราจากรังสียูวี...ว่านานแค่ไหน ทั้งนี้ต้องสังเกตผิวของเราตอนที่ไม่ได้ทาครีมกันแดดก่อนว่าทนอยู่ท่ามกลางแสงแดดได้กี่นาที (กี่นาทีผิวถึงจะไหม้ว่างั้นเถอะ)
เช่น ถ้าผิวเราทนแดดได้แค่ 10 นาที หมายความว่าถ้าเราใช้ครีมกันแดด SPF 15 ก็จะช่วยให้ผิวเราทนแดดได้นานขึ้น 15 เท่า หรือเท่ากับ 150 นาที (2 ชั่วโมงครึ่ง)
แต่ถ้าเป็นชาวผิวดำ ซึ่งมักจะทนแดดได้นานกว่า (ประมาณ 1 ชั่วโมง) หมายความว่า ถ้าเขาใช้ครีมกันแดด SPF 15 ผิวเขาจะสามารถทนแดดนานถึง 15 ชั่วโมง หรือเรียกว่าตลอดวันเลยนั่นแหละ
Time to Burn ระยะเวลาที่ผิวสามารถทนแดดได้
ชนิดของผิว ไม่ได้ใช้ครีมกันแดด ครีมกันแดด SPF4 ครีมกันแดด SPF8 ครีมกันแดด SPF15
ผิวขาว 10 นาที 40 นาที 80 นาที 2 1/2ชม.
ผิวเหลืองน้ำตาล 30 นาที 2 ชม. 4 ชม. 7 1/2ชม.
ผิวดำ 1 ชม. 4 ชม. 8 ชม. ตลอดวัน
Don't Miss!
ทั้งนี้ค่า SPF จะเป็นตัวระบุการป้องกันผิวจากรังสียูวีบีเท่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วยังมีรังสียูวีเออีกชนิดหนึ่งที่เราต้องหลีกเลี่ยง เพราะมันจะทำร้ายผิวเราให้เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นและหมองคล้ำได้ ดังนั้น เราควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า PA ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าสามารถกันรังสียูวีเอได้มากน้อยแค่ไหนด้วย
โปรดอ่านต่อฉบับหน้า